ประชาสัมพันธ์

พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประวัติศาสตร์ พระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก


พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประวัติศาสตร์ พระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก
แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งการปกครอง ลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ การเมืองการปกครอง ศิลปะวัฒนธรรม ในอดีต ได้ถูกรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์ประวัติศาสตร์ พระราชวังจันทน์ เพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้เข้าชม เข้าศึกษา

สำหรับพิพิธภัณฑ์ศูนย์ประวัติศาสตร์ พระราชวังจันทน์ เปิดบริการให้เข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา 09.00-16.00 น. วันอังคาร - วันพุธ (ปิดวันจันทร์) สอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 055-247304-5



ข้อปฏิบัติเข้าชมศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์
โปรดแต่งกายสุภาพ
ห้ามมิให้จับต้องผลงานทางศิลปะใดๆ ที่แสดงอยู่ในอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์
ห้ามนําอาหารและเครื่องดื่มเข้าภายในศูนย์ประวัติศาสตร์
ห้ามสูบบุหรี่ภายในศูนย์ประวัติศาสตร์
ห้ามพกพาอาวุธทุกชนิดเข้าไปในศูนย์ประวัติศาสตร์
ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ผู้เข้าชมจะต้องเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่าส่วนตัวไว้กับตัวเองตลอดเวลา หากเกิดการสูญหาย จะไม่ขอรับผิดชอบใดๆ
ห้ามนำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาภายในศูนย์ประวัติศาสตร์
ห้ามสวมหมวกดำหรือแว่นตาดำ เพื่อปิดบังหน้าตา



เมืองสรลวงสองแคว เป็นคำเรียกเมืองพิษณุโลกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านคือแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยต่อมาในสมัยอยุธยาเอกสารประวัติศาสตร์ใดกล่าวถึงเมืองนี้ในนามเมืองชัยนาทจนถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหลังจากส่งมอบหมายให้พระราชโอรสปกครองพระนครศรีอยุธยาแทนพระองค์ซึ่งเสด็จมาประทับที่เมืองนี้เพื่อรับศึก พระเจ้าติโลกราช แห่งล้านนาและโปรดให้ขนานนามว่าเมืองพิษณุโลกซึ่งหมายถึงที่ประทับของพระนารายณ์ตามความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารหนึ่งของพระนารายณ์

เมืองพิษณุโลกมีแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านตัวเมืองเกิดเป็นชุมชนที่ตั้งเรียงรายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนื่องจากพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์มีแหล่งน้ำใช้ในการบริโภคบริโภครวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญติดต่อกับเมืองใกล้เคียงและเป็นเมืองท่าสำคัญทางอ่าวไทยมาแต่ครั้งอดีต

สภาพภูมิศาสตร์จังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิษณุโลกมีพระสภาพภูมิประเทศทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนบริเวณอำเภอนครไทยอำเภอวังทองอำเภอวัดโบสถ์และอำเภอเนินมะปรางเต็มไปด้วยป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติสลับกับที่ราบลุ่มส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบสูงทางตอนใต้เป็นที่ราบและราบลุ่มโดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและลุ่มแม่น้ำยมซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลกอำเภอบางระกำอำเภอพรหมพิรามอำเภอเนินมะปรางและบางส่วนของอำเภอวังทองเป็นบริเวณที่แม่น้ำพัดพาตะกอนก้อนดินมาทับถมทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม



พระราชวังจันทน์ สมัยที่ ๑
กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ สมัยสุโขทัยถึงอยุธยาตอนต้น พบร่องรอยสิ่งก่อสร้างด้วย อิฐทึบ ลักษณะเป็นแนวกำแพงที่มีระดับพื้นใช้งานจนถึงระดับฐานอยู่ในระดับลึกที่สุด เนื่องจากไม่สามารถขุดแต่ง ให้เห็นซากโบราณสถานได้ทั้งหมด จึงไม่สามารถกำหนดขอบเขตและขนาดของพระราชวังในสมัยนี้ได้ ทิศตะวันตก นอกกำแพงวังพบแนวอิฐลักษณะเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กึ่งกลางสระมีเนินดินสูงคล้ายเกาะ ทำให้แบ่งพื้นที่ของสระออกเป็นสองส่วน จึงเรียกกัน “สระสองห้อง” สันนิษฐานว่า เป็นพื้นที่พระราชอุทยานที่สัมพันธ์กับพระราชวังจันทน์ตั้งแต่สมัยแรกจนกระทั่งถูกทิ้งร้างไปโบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา เนื้อดินธรรมดา เศษภาชนะดินเผาดินแกร่งจากเตาศรีสัชนาลัยและเตาสุโขทัย

พระราชวังจันทน์ สมัยที่ ๒
กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒ สมัยอยุธยาตอนต้นถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง พบแนวกำแพงชั้นนอกก่อด้วยอิฐ ซึ่งไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจน แต่จากหลักฐานที่ปรากฏทำให้
สันนิษฐานได้ว่า ผังพระราชวังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางผังในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำน่าน กว้างประมาณ ๑๘๕ เมตร ยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร นับว่ามีขอบเขตกว้างขวางที่สุด พื้นที่ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนได้แก่ เขตพระราชวังชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน โดยวางทิศทางตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เช่นเดียวกับพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี และพระบรมมหาราชวังของกรุงรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุที่พบได้แก่ เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาเผาพื้นเมือง และแหล่งเตาเผาในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เตาศรีสัชนาลัย เตาสุโขทัย เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงด้วย

พระราชวังจันทน์ สมัยที่ ๓
กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒ สมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยธนบุรี แนวกำแพงชั้นนอกก่ออิฐ ผังพระราชวังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๑๙๒.๕๐ เมตร ยาว ๒๖๗.๕๐ เมตร กำแพงวังชั้นนอกทิศตะวันออกและตะวันตกมีช่องประตูด้านละ ๒ ช่องในตำแหน่งที่ตรงกันพื้นที่ภายในพระราชวังแบ่งเป็น ๓ ส่วนได้แก่
เขตพระราชวังชั้นนอก คือ พื้นที่ทางตอนเหนือระหว่างแนวกำแพงชั้นนอกกับชั้นใน สันนิษฐานว่า เป็นที่ตั้งศาลาลูกขุนนอก คลังปืนใหญ่ โรงผ้าและป้อมเวรยาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารไม้ จึงชำรุดหักพังไม่เหลือหลักฐานใดๆ
เขตพระราชวังชั้นกลาง คือ พื้นที่ภายในแนวกำแพงชั้นใน พบฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าทางทิศเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งพระราชมณเฑียรพระที่นั่งเพื่อใช้ในพระราชพิธี หรือเสด็จออกว่าราชการบริเวณทิศใต้หรือด้านหลังอาคารมีการสร้างกำแพงคู่ขนานเป็นแนวทางเดินจากประตูกำแพงด้านตะวันออกเข้ามายังด้านหลังอาคาร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสำหรับฝ่ายใน นอกจากนั้น น่าจะเป็นที่ตั้งศาลาลูกขุนชั้นใน คลังมหาสมบัติ และโรงช้างเผือก
เขตพระราชวังชั้นใน คือ พื้นที่ทางตอนใต้ สันนิษฐานว่าเป็นเขตพระราชฐาน ที่ประทับของพระมาหากษัตริย์และพระมเหสี มีตำหนักสนมและโรงเครื่องต้น โบราณวัตถุที่พบได้แก่ เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาเผาพื้นเมือง และเตาเผาในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เตาศรีสัชนาลัย เตาสุโขทัย นอกจากนั้น ยังพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิงด้วย



วัดศรีสุคต
สันนิษฐานว่า วัดศรีสุคตน่าจะมีมาก่อนสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยพิจารณาจากฐานเจดีย์ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายในบริเวณจระนำซุ้มอยู่บริเวณกึ่งกลางทั้งสี่ด้าน รวมทั้งแถวพระสาวกยืนพนมมือ ภายในจระนำซุ้มรอบฐานเจดีย์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสมัยสุโขทัย ส่วนรูปแบบสันนิษฐานของเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยา ด้านหน้าเจดีย์ประธานพบซากอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นวิหาร ส่วนบริเวณโดยรอบเจดีย์ประธาน น่าจะมี เจดีย์ราย ตามรูปแบบผังวัดในสมัยอยุธยา

Phitsanuloklife



0 Comments

แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา เส้นขวาง | ขนาดตัวอักษร แบบตัวอักษร ใส่แฟลช ใส่ Video Youtube ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP ใส่ตาราง ใส่แถวของตาราง ใส่คอลัมน์ตาราง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | ใส่ลีสต์
ยิ้ม เท่ห์ เท่ห์ อย่างเรา หนูไม่รู้ เยี่ยม โกรธ เคือง ช๊อก เท่ห์ งง แนะนำ เหงื่อตก ยอมแพ้ อาย ลังเล ตาหวาน ร้องไห้